วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

บบที่8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

2.การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน
ไทยกับฝรั่งเศสเริ่มมีความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งได้ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามเมื่อปี ๒๒๒๘ ต่อมา ราชทูตสยาม (โกษาปาน) ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อปี ๒๒๒๙ ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับฝรั่งเศสได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการลงนาม อ่านเพิ่มเติม

บบที่8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

1. การประสานประโยชน์
2. การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้อง ผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณี ความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมอง และเศรษฐกิจทางต่างประเทศ
3. องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ประธานาธิบดีวูดโรว์วิลสัน แห่ง สหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์การ กลางที่จะใช้แก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี ได้มีการ ประชุมครั้งแรก ณ นครเจนิวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
4. สมาชิกภาพ ประเทศที่เป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกประเทศได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญา สันติภาพ เป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาต ชาติโดยอัตโนมัติ ประเทศที่แพ้สงครามมี สิทธิ์เข้าเป็นสมาชิกขององค์การได้ ส่วน สหรัฐอเมริกาแม้จะเป็นผู้ริเริ่มองค์การนี้ก็ ไม่ได้เป็นสมาชิก เนื่องจากสภาคองเกรส ของสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบัน ซึ่งมี นโยบายไม่ยุ่งเกี่ยวและแทรกแซงทาง การเมืองของประเทศทางยุโรป
5. วัตถุประสงค์ อ่านเพิ่มเติม

บทที่7 สิทธิมนุษยชน

2.สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
จัดแบ่งออกเป็น  3  ประเภทคือ
  • สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  ซึ่งหมายถึงสิทธิในชีวิต  เนื้อตัว  ร่างกาย  ในศักดิ์  ในความเท่าเทียมกัน  โดยเฉพาะทางกฎหมาย  สิทธิที่จะได้รับความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรม  สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน  ไม่ถูกบังคับให้สูญหาย  ไม่ถูกบังคับให้เป็นทาส  สามารถเดินทางย้ายถิ่น ( ในขอบเขตประเทศของตนและกลับประเทศตนเองได้ )  อย่างเสรี  รวมไปถึงสิทธิในการสร้างครอบครัวที่เลือกเอง  การมีชื่อ  มีสถานะบุคคล  รวมถึงชาติ  เสรีภาพในการเลือกนับถือ ( หรือไม่นับถือ ) ศาสนา ฯลฯ  ในขณะเดียวกัน  มนุษย์แต่ละคนต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม  ซึ่งย่อมต้องการมีส่วนร่วมในสังคมการเมือง  ดังนั้น  สิทธิในการเลือกตั้ง  การมีส่วนร่วมในทางการเมือง  สิทธิในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น  การพูด  สิทธิในการสื่อสารและข้อมูลข้าวสาร  สิทธิในการรวมกลุ่มและรวมตัวกัน
  • สิทธิในทางเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม  สิทธิพื้นฐานสำคัญไม่อาจถูกละเมิดได้คือ  สิทธิที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและอย่างมีศักดิ์ศรี  ซึ่งนั่นหมายถึงว่า  แต่ละคนต้องมีงานทำและได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกันในงานประเภทเดียวกัน  มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย  สามารถรวมตัวกันต่อรอง  เพื่อสวัสดิภาพและสวัสดิการของตนเองและครอบครัวได้  มีปัจจัยสี่ที่พร้อมเพียง  ไม่ว่าจะเป็นอาหาร  ที่อยู่อาศัย  การเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสุขอนามัย  การถือครองทรัพย์สิน ( ตราบเท่าที่ไม่เบียดเบียนและไม่ทำให้ผู้อื่นหมดทางทำมาหากิน )   การได้รับการศึกษาเท่าที่ต้องการและเท่าที่ความสามารถในการเรียนรู้จะอำนวยให้  รวมถึงสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากผลพวงของการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจ  การเมือง  วัฒนธรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งหลาย ฯลฯ
  • สิทธิในการพัฒนา  การได้รับประโยชน์จากการพัฒนา  การมีสิ่งแวดล้อมที่ดี  การที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและรักษาดูแลสำหรับตนเองแลเพื่อชนรุ่นหลัง  การดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรม  ร่วมกันในกลุ่มและชุมชน  สิทธิในการกำหนดใจและอนาคตตนเอง  ซึ่งหมายรวมถึง  การมีสิทธิในการกำหนด  แนวทางการพัฒนาประเทศและชุมชนทั้งหมดนี้ก็เพื่อไปให้ถึงสิทธิอีกอย่างหนึ่งคือ  สิทธิที่จะมีสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

บทที่7 สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน เป็นหลักทางศีลธรรมแจกแจงมาตรฐานบางอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองเป็นสิทธิตามกฎหมายเป็นปกติในกฎหมายระดับชาติและนานาชาติ สิทธิเหล่านี้ "เข้าใจทั่วไปว่าเป็นสิทธิมูลฐานอันไม่โอนให้กันได้ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเองเพียงเพราะเธอหรือเขาเป็นมนุษย์" ฉะนั้น จึงเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสากล (มีผลทุกที่) และเสมอภาค (เท่าเทียมสำหรับทุกคน) ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลอย่างสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันระดับโลกและภูมิภาค
สิทธิ หมายถึง สิทธิตามกฎหมายหรือศีลธรรม ที่จะกระทำหรือไม่กระทำบางอย่าง หรือ ที่จะได้รับ หรือ ไม่ได้รับ บางอย่างในสังคมอารยะ (Civil Society) สิทธิทำหน้าที่เหมือนกฎในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของบุคคลหนึ่งบุคคลใดควรจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเช่นกัน.
เสรีภาพ คื อ่านเพิ่มเติม



บทที่6กฎหมาย

2.ข้อตกลงระหว่างประเทศ
คำนิยามของ  ข้อตกลงระหว่างประเทศ  กับ  สนธิสัญญา  ( ตอนที่ 1 )
 คำนิยามของคำว่า  ข้อตกลงระหว่างประเทศ  กับ  สนธิสัญญา  ทั้งสองคำนี้มีความหมายคล้ายคลึงกัน  แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อแตกต่างกันอยู่   ในประเด็นข้อกฎหมายต่างๆ  ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1.1 คำนิยามข้อตกลงระหว่างประเทศ
     บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกิดจากข้อตกลง  ก็คือบ่อเกิดที่เกิดจาก ข้อตกลงระหว่างประเทศ  ซึ่งหมายถึง การกระทำทางกฎหมายหลายฝ่ายที่ตกลงทำกันขึ้นระหว่างบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศและอยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ



บทที่6กฎหมาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  ประเทศชาติ
1.   ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย
2.   กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
3.   กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา
4.   กฎหมายอาญา
5.   โมฆกรรมและโมฆียกรรม
6.   กฎหมายอื่นที่สำคัญ

7.   ข้อตกลงระหว่างประเทศ อ่านเพิ่มเติม


บทที่5การปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การจัดตั้งองค์กรทางการเมืองสืบเนื่องมาจากการที่มนุษย์รวมตัวกันขึ้นเป็นสังคม จุดเริ่มต้นของการรวมตัวเป็นสังคม คือ การรวมกลุ่มขึ้นเป็นครอบครัว จากกลุ่มครอบครัวขยายเป็นเผ่าชน หรือเป็นรูปแบบเหล่ากอ หรือโคตรตระกูล จากนั้นกลายเป็นนครรัฐ จากนครรัฐแปรสภาพเป็นจักรวรรดิ ซึ่งมีระยะเวลาคาบเกี่ยวกับนครรัฐ จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง มีการจัดองค์กรทางการเมืองเป็นรัฐประชาชาติ หรือ “รัฐ” “ชาติ” หรือ “ประเทศ” ซึ่งเป็นการจัดรูปแบบองค์กรทางการเมืองในปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ศัพท์ทั้ง 3 สามารถใช้แทนกันได้ บางครั้งเรียก “รัฐ” ว่า “ประเทศ” หรือ “ชาติ” เช่น ชาติไทย หรือประเทศไทย เป็นต้น ส่วนที่ใช้ความหมายเฉพาะแต่ละศัพท์ ซึ่งมีความโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง อาจมีความแตกต่างกัน