วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

บทที่7 สิทธิมนุษยชน

2.สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
จัดแบ่งออกเป็น  3  ประเภทคือ
  • สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  ซึ่งหมายถึงสิทธิในชีวิต  เนื้อตัว  ร่างกาย  ในศักดิ์  ในความเท่าเทียมกัน  โดยเฉพาะทางกฎหมาย  สิทธิที่จะได้รับความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรม  สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน  ไม่ถูกบังคับให้สูญหาย  ไม่ถูกบังคับให้เป็นทาส  สามารถเดินทางย้ายถิ่น ( ในขอบเขตประเทศของตนและกลับประเทศตนเองได้ )  อย่างเสรี  รวมไปถึงสิทธิในการสร้างครอบครัวที่เลือกเอง  การมีชื่อ  มีสถานะบุคคล  รวมถึงชาติ  เสรีภาพในการเลือกนับถือ ( หรือไม่นับถือ ) ศาสนา ฯลฯ  ในขณะเดียวกัน  มนุษย์แต่ละคนต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม  ซึ่งย่อมต้องการมีส่วนร่วมในสังคมการเมือง  ดังนั้น  สิทธิในการเลือกตั้ง  การมีส่วนร่วมในทางการเมือง  สิทธิในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น  การพูด  สิทธิในการสื่อสารและข้อมูลข้าวสาร  สิทธิในการรวมกลุ่มและรวมตัวกัน
  • สิทธิในทางเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม  สิทธิพื้นฐานสำคัญไม่อาจถูกละเมิดได้คือ  สิทธิที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและอย่างมีศักดิ์ศรี  ซึ่งนั่นหมายถึงว่า  แต่ละคนต้องมีงานทำและได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกันในงานประเภทเดียวกัน  มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย  สามารถรวมตัวกันต่อรอง  เพื่อสวัสดิภาพและสวัสดิการของตนเองและครอบครัวได้  มีปัจจัยสี่ที่พร้อมเพียง  ไม่ว่าจะเป็นอาหาร  ที่อยู่อาศัย  การเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสุขอนามัย  การถือครองทรัพย์สิน ( ตราบเท่าที่ไม่เบียดเบียนและไม่ทำให้ผู้อื่นหมดทางทำมาหากิน )   การได้รับการศึกษาเท่าที่ต้องการและเท่าที่ความสามารถในการเรียนรู้จะอำนวยให้  รวมถึงสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากผลพวงของการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจ  การเมือง  วัฒนธรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งหลาย ฯลฯ
  • สิทธิในการพัฒนา  การได้รับประโยชน์จากการพัฒนา  การมีสิ่งแวดล้อมที่ดี  การที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและรักษาดูแลสำหรับตนเองแลเพื่อชนรุ่นหลัง  การดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรม  ร่วมกันในกลุ่มและชุมชน  สิทธิในการกำหนดใจและอนาคตตนเอง  ซึ่งหมายรวมถึง  การมีสิทธิในการกำหนด  แนวทางการพัฒนาประเทศและชุมชนทั้งหมดนี้ก็เพื่อไปให้ถึงสิทธิอีกอย่างหนึ่งคือ  สิทธิที่จะมีสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น